เกี่ยวกับสวนนงนุชพัทยา
เมื่อปี 2497 (ค.ศ.1954) คุณพิสิฐและคุณนงนุช ตันสัจจา ได้ซื้อที่ดินจำนวน 1,500 ไร่ (600 เอเคอร์) ระหว่าง พัทยา – สัตหีบ หลักกิโลเมตรที่ 163 ต.นาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยเริ่มจากทำสวนผลไม้ เช่น มะม่วง ส้ม มะพร้าว และอื่น ๆ อีกมากมาย
ต่อมาเมื่อคุณนงนุช ได้เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศกับเพื่อนๆ และประทับใจในความสวยงามของสวนต่างๆ ประกอบกับเป็นคนชอบดอกไม้เป็นทุนอยู่แล้ว จึงได้เกิดความคิดที่จะ “จัดสวนให้คนมาเที่ยวชม” จึงตัดสินใจเปลี่ยนสวนผลไม้เป็นสวนสำหรับท่องเที่ยวและพักผ่อน ปลูกไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิด จัดแต่งให้เป็นสวนสวย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ อาทิ ที่พัก สระว่ายน้ำ ห้องอาหาร และจัดเลี้ยงสัมมนาสำหรับบริการนักท่องเที่ยวแบบครบวงจร
สวนนงนุชพัทยาได้เปิดอย่างเป็นทางการในเมื่อปี 2523 (ค.ศ.1980) พร้อมจัดให้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมสมัยและการแสดงช้างแสนรู้ภายในโรงละคร กระทั่ง 3 ปีต่อมาคุณนงนุชได้มอบให้ทายาทคนที่ 2 คือคุณกัมพล ตันสัจจา เข้ามาพัฒนา บริหารจัดการจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับแนวหน้า เก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ในเขตร้อนมากกว่า 18,000 ชนิดเป็นศูนย์กลางของสวนพฤกษศาสตร์ระดับโลกภายใต้แนวคิดรักษ์ต้นไม้ ลดโลกร้อนและเป็นสวนสำหรับคนทุกคนในโลกนี้
ปัจจุบันสวนนงนุชพัทยาถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในระดับแนวหน้า มีพื้นที่กว่า 1,700 ไร่เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก มีผู้เข้าเยี่ยมชมไม่น้อยกว่าวันละ 5,000 คน และสวนนงนุชพัทยายังได้รับการยกย่องให้ติด 1 ใน 10 ของสวนที่สวยที่สุดในโลก โดยได้รับการการันตีจากเว็บไซต์ทั่วโลก พร้อมรางวัลเกียรติยศมากมายและปัจจุบันนี้
สวนนงนุชพัทยา ได้ฟื้นฟูและขยายแหล่งท่องเที่ยว ของสวนนงนุชพัทยา ขึ้นมาใหม่ เพื่อ “เป็นสวนนงนุชใหม่ สำหรับคนในศตวรรษที่ 21” อีกทั้งยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก
นโยบาย และแผนงานของบริษัท
บริษัท นงนุชพัทยาการ์เด้น ดีไซน์ จำกัด ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับกิจการที่ดีและยึดหลักจริยธรรมควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสังคมและความปลอดภัยอาชีวอนามัย มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ผู้บริหาร พนักงาน ลูกค้า ชุมชนตลอดจนสังคมวงกว้าง ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน สำหรับกิจกรรมการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR ) นั้น บริษัทฯ มีความเชื่อว่าชุมชนที่เข้มแข็งและมีการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น มีความสำคัญยิ่งในฐานะเป็นปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ จึงมีนโยบาย CSR ดังนี้
1.นโยบายด้านชุมชนและสังคม
1.1 บริษัทจะสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอาสาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนและสังคม
1.2 บริษัทฯจะร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชนและสังคมให้น่าอยู่
1.3 บริษัทฯจะสนับสนุนให้ชุมชนและสังคมมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆอย่างพอเพียง
1.4 บริษัทฯ จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ
2.นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
2.1 บริษัทฯจะส่งเสริมการนำวัสดุใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
2.2 บริษัทฯจะสนับสนุนการคัดแยกขยะตามประเภท
2.3 บริษัทฯจะสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมต่างๆด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การฝึกอบรม การประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ เป็นต้น เพื่อช่วยกระตุ้นจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงาน รวมถึงการอนุรักษ์ป้องกัน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม
2.4 บริษัทฯเปิดเผยนโยบายสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการสื่อสารและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการควบคุม ปกป้อง พัฒนา และปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสาธารณชน
2.5 บริษัทฯสนับสนุนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนในท้องถิ่น โดยร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นๆ
3.นโยบายด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
3.1 บริษัทฯจะดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆที่บริษัทฯได้ทำข้อตกลงไว้
3.2 บริษัทฯจะควบคุมและป้องกันอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพ อันตรายจากอัคคีภัย สารเคมี ไฟฟ้า เครื่องจักร เหตุฉุกเฉิน โรคจากการทำงาน และอันตรายอื่นๆจะเกิดกับพนักงาน และผู้เกี่ยวข้องให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
3.3 บริษัทฯจะกำหนดให้คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีอำนาจในการตัดสินขาด จัดซื้อ จัดจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่นอกเหนือจากการจัดซื้อปกติ
3.4 บริษัทฯจะสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
3.5 บริษัทฯจะจัดให้มีการติดตาม ประเมินผล และพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง