ฤาษีผสม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solenostemon scutellarioides
ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย และทวีปแอฟริกาใต้
วงษ์ : LABIATAE
ลักษณะ : ไม้อวบน้ำ สูง 40-80 เซนติเมตร ต้นรูปทรงสี่เหลี่ยม มีขนสั้นๆ ปกคลุมทั้งต้น
ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ ปลายแหลม โคนมนหรือสอบเรียว ขอบหยักเว้า แผ่นใบหยิกย่น มีขน ลวดลายและสีใบต่างกันตามพันธุ์
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง บริเวณปลายกิ่ง ดอกสีขาวหรือดอกสีม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปปากเปิด 5 แฉก เกสรเพศผู้มี 2 คู่ยาวไม่เท่ากัน
การดูแลรักษา
ดิน : ดินร่วนปนทรายที่ ต้องการน้ำมาก แสงแดดเต็มวัน
การขยายพันธุ์ : ปักชำ เพาะเมล็ด
ประโยชน์ : ปลูกประดับสวนเป็นแปลง ปลูกริมถนน ริมทางเดิน เมื่อได้รับแสงแดดจัดยิ่งมีสีสันจัดจ้าน
ไม้พุ่มขนาดเล็ก มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ลักษณะลำต้นและกิ่งเป็นเหลี่ยม ค่อนข้างอวบน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบมักหยิกย่น มีลวดลายและสีต่างกันตามพันธุ์ และมีขน นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีสีหลายสีปนกันในแต่ละพันธุ์ การดูแลรักษา การขยายพันธุ์ก็ทำได้ง่าย โดยวิธีการปักชำ เพาะเมล็ด และหากได้รับแสงที่เหมาะสมใบฤๅษีผสมก็จะมีสีสันสดใสสวยงาม