ปาล์ม
ชื่อวิทยาศาสตร์: Arecacae
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ: Palm
วงศ์: Arecacae
ถิ่นกำเนิด: แถบแอฟริกาตะวันตก
การขยายพันธุ์: เมล็ดเพาะ แยกหน่อ
ลักษณะทั่วไป
“ปาล์ม” เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากเขตร้อน มีเพียงบางชนิดที่มาจากเขตเย็น เช่น ทางใต้ของยุโรป และญี่ปุ่น ปาล์มส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะ ที่เด่นชัดคือล้ำต้นเป็นข้อ มีใบบนยอดเพียงที่เดียว ไม่แตกกิ่งก้าน มีก้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน แต่ก็ไปรวมกลุ่มกันที่ปลายก้านเดียว แต่ก็มีปาล์มหลายชนิดที่ไม่ได้มีลำต้นสูงพ้นดิน แต่ก็มีลักษณะใบแบบปาล์ม
“ปาล์ม” แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ (เรือนยอด) ตั้งแต่ก้านใบขึ้นไป (คอยอด)อยู่ระหว่างลำต้นและพุ่มใบ (ลำต้น) ตั้งแต่โคนขึ้นมาจนถึงคอ
(ใบ) ลักษณะของใบปาล์ม ถือเป็นจุดเด่น เพราะใบปาล์มนั้นเป็นใบประกอบ มีก้านใบที่ยาว มีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอดแล้วคลี่ขยายออกมา แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนนก และใบรูปพัด หรือฝ่ามือ
(ผล) มีเปลือกแข็ง มีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่เล็ก เช่น หวาย จนถึงขนาดปานกลาง เช่นหมาก อินทผาลัม และขนาดใหญ่ อย่างมะพร้าว หรือมะพร้าวแฝด ผลปาล์มหลายชนิดรับประทานได้ คือ ตาล จาก ชิด สละ ระกำ มะพร้าว หมาก
(ดอก) พื้นในวงศ์ปาล์ม ไม่มีกลีบดอก ไม่หอม เป็นดอกเล็กและแข็ง ดอกปาล์มประกอบไปด้วย 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3-6 อัน หรือมากกว่า เกสรตัวเมียมีรังไข 1-3 อัน ปาล์มออกดอกเป็นพวง ช่อดอกที่อ่อนของปาล์มหลายชนิดเมื่อเอามีปาดส่วนปลายจะได้น้ำหวาน ทำน้ำตาลสด น้ำตาลปี๊บและน้ำตาลเมา
ปาล์มแบ่งออกเป็น 6 วงศ์ย่อยได้แก่
1.Arecoideae (เต่าร้าง มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน)
2.Calamoideae (หวายชนิดต่าง)
3.Ceroxyloideae (ปาล์มแชมเปญ)
4.Coryphoideae (อิลทผาลัม ลาน ตาล)
5.Nypoideae (จาก)
6.Phytelephantoideae (ปาล์มงาช้าง)
สวนนงนุชพัทยา มีการเก็บรวบรวมพันธุ์ปาล์มประมาณ 1,567 ชนิด จาก 2,600 ชนิดทั่วโลก เนื่องจากสวนนงนุชฯ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปาล์มหลากหลายชนิดทำให้สามารถปลูกและเก็บรวบรวมพันธุ์ปาล์มได้มากกว่าสวนพฤกษศาสตร์อื่นทั่วโลก และยังมีปาล์มอีกมากกว่า 100 ชนิด ที่มีเฉพาะในสวนนงนุชเท่านั้น ทำให้สวนนงนุชเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่มีปาล์มมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังมีการทำวิจัยปาล์มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกี่ยวกับด้านต่างๆของปาล์ม และเคยเป็นเจ้าภาพในการประชุมปาล์มโลกถึง 2 ครั้ง ปัจจุบันสวนนงนุชพัทยา สามารถรวบรวมพันธุ์ปรงได้ 343 สายพันธุ์ จาก 355 สายพันธุ์ทั่วโลก แต่สวนนงนุชพัทยาชุบชีวิตขึ้นมาอีกครั้งและกลายเป็นแหล่งรวมพันธุ์ปรงได้มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเช่นกัน"